top of page
OFFICE_DMR_edited.jpg

๖. ระบบเศรษฐกิจ
๖.๑ การเกษตร
     พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะรุม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ทำนา รองลงมา คือ ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ
    อาชีพของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะรุม ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- ทำไร่ 50 %
- ทำนา 47 %
- เลี้ยงสัตว์ 3 %

 

พื้นที่เพื่อการเกษตร                                                                     กลุ่มอาชีพ (กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง) จำนวน 12 หมู่บ้าน

๖.๒ การประมง
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะรุมไม่มีการประมง ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน

๖.๓ การปศุสัตว์
      การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะรุม เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ เพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน
๖.๔ การบริการ
      ร้านอาหาร จำนวน ๑๑ แห่ง
๖.๕ การท่องเที่ยว
     ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะรุมมีแหล่งท่องเที่ยวคืออ่างเก็บน้ำวังหินหนีบ และเมืองโบราณสมัยทวาราวดี และได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ และส่งเสริมกิจกรรมของวัด
๖.๖ อุตสาหกรรม
    ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะรุมไม่มีอุตสาหกรรม
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
      การพาณิชย์
- ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง
- บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด - แห่ง ตลาดสด - แห่ง
- ร้านค้าต่างๆ 50 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง
- ซุปเปอร์มาเก็ต - แห่ง อู่ซ่อมรถ 5 แห่ง
๖.๘ แรงงาน
     จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ ๑๕ - ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ ๙๕ เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัดซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง ๒๕ - ๕๐ ปี บางส่วนไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

POP7.png
POP6.png
bottom of page